วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



สรุปสาระสำคัญของอีเลิร์นนิง


       คำ ว่า e-Learning หมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้  เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ อาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น

การนำ e-Learning ไปใช้

      สื่อเสริม (Supplementary) หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริม กล่าวคือ นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่นๆ เช่น จากเอกสาร(ชี้ท) ประกอบการสอน จากวิดีทัศน์ (Videotape) ฯลฯ    
                                                                         
      สื่อเติม (Complementary) หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว    ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-Learning ในความคิดของผู้เขียนแล้ว ในประเทศไทย หากสถาบันใด ต้องการที่จะลงทุน ในการนำ e-Learning ไปใช้กับการเรียน การสอนตามปรกติ เช่น ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจาก e-Learning เพื่อวัตถุประสงค์ ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้  เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนในบ้านเราซึ่งยังต้องการคำแนะนำ จากครู ผู้สอนรวมทั้งการที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดการปลูกฝังให้มีความใฝ่รู้โดย ธรรมชาติ

     สื่่อหลัก (Comprehensive Replacement) หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่ การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์ ในปัจจุบัน e-Learning ส่วนใหญ่ในต่างประเทศ จะได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อหลักสำหรับแทนครู ในการสอนทางไกล ด้วยแนวคิดที่ว่า มัลติมีเดีย ที่นำเสนอทาง e-Learning สามารถช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอนโดย สมบูรณ์ได้
                                       
ประโยชน์ของ  e-Learning

1. ยืดหยุ่น และ สะดวก
           การเรียนการสอนผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) มีลักษณะยืดหยุ่น เพราะสามารถเข้าเรียนได้ตามใจของผู้เรียน โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่

2. เข้าถึงได้ง่าย
           ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนได้ง่าย โดยใช้โปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ (Web browser) เช่น Internet Explorer หรือ Netscape จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ ในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)ทำได้ง่ายขึ้นมาก เพราะโครงสร้างพื้นฐานเอื้ออำนวย การที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึง การเรียนการสอนผ่านระบบอีเลิร์นนิ่งได้ง่าย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอด และรับส่งข้อมูลมีราคาต่ำ

3. ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ง่าย
           เนื่องจากผู้สร้างข้อมูล (อาจารย์ผู้สอน) จะสามารถเข้าถึงระบบอีเลิร์นนิ่ง ได้จากทุกแห่งทั่วโลก ดังนั้นการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลจึงทำได้ทันเวลาโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ และเวลา

4. ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
    ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใกล้ตัวที่สุด โดยไม่จำเป็นที่จะต้องไปโรงเรียน ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก


 

แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                                                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ภาคเรียนที่ ๑                                                                                                                                           ปีการศึกษา ๒๕๕๔
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑   เรื่อง  คำราชาศัพท์                                                                                 เวลา   ๖     ชั่วโมง 
เรื่อง    ใช้ให้ถูกพึงจำ...คำราชาศัพท์                                                                                                 เวลา   ๑      ชั่วโมง 

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ท ๔.๑   เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ   

ตัวชี้วัด
      มฐ.ท ๔.๑ ป. ๕/๔  ใช้คำราชาศัพท์

สาระสำคัญ
      คำราชาศัพท์เป็นคำในภาษาไทยที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคลระดับต่าง ๆ

จุดประสงค์การเรียนรู้
      ๑. อธิบายการใช้คำราชาศัพท์  (K)
      ๒.ใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้องเหมาะสม  (P)
      ๓. เห็นความสำคัญของการใช้คำราชาศัพท์  (A)

สาระการเรียนรู้/เนื้อหาสาระ                                                                                                                                                       
       ๑. ความรู้ความคิด (K)                                                                                                                                                     
            คำราชาศัพท์ชนิดต่าง ๆ
      ๒. ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด (P)
            การจำแนก  การให้เหตุผล  การสังเคราะห์  การสรุปความรู้ 
      ๓. คุณลักษณะ (A)
           ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย                                                                                   

สมรรถนะสำคัญ
         ๑มีความสามารถในการสื่อสาร
         ๒. มีความสามารถในการคิด

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๑.วิธีวัดและเครื่องมือวัด
เป้ามายการเรียนรู้
หลักฐานผลการเรียนรู้
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
สาระสำคัญ
คำราชาศัพท์เป็นคำในภาษาไทยที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคลระดับต่าง ๆ


- ผลการทดสอบการตอบคำถามคำราชาศัพท์

- ตอบคำถามจากเรื่องคำราชาศัพท์

- แบบทดสอบการตอบคำถามจากเรื่อง
คำราชาศัพท์
 ตัวชี้วัด
มฐ.ท ๔.๑ ป. ๕/๔  ใช้คำราชาศัพท์


- ผลการทดสอบการตอบคำถามเรื่องคำราชาศัพท์

- ทำแบบทดสอบการตอบคำถามเรื่องคำราชาศัพท์


- แบบทดสอบการตอบคำถามเรื่อง
คำราชาศัพท์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
. สามารถใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้องเหมาะสม  

- ผลการทดสอบการตอบคำถามเรื่องที่คำราชาศัพท์


- ทำแบบทดสอบการตอบคำถามเรื่องคำราชาศัพท์


- แบบทดสอบการตอบคำถามเรื่องคำราชาศัพท์



กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำสู่บทเรียน                 
. ครูพูดคุยสนทนากับนักเรียน แล้วแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
. ครูอธิบายให้ความรู้เรื่องคำราชาศัพท์ให้นักเรียน

ขั้นการสอน
๑. ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทายดังนี้
๏ ใช้คำราชาศัพท์อย่างไรไม่ให้ผิดพลาด

๒. ให้นักเรียนฟังบทสนทนาของแม่ลูกคู่หนึ่งจากการอ่านหรือพูดให้ฟังของครู
                    แม่พาลูกที่ครบรอบวันเกิด ๗ ขวบใส่บาตรในเช้าวันหนึ่ง ลูกชายกระตือรือร้นเตรียมตัว    ใส่บาตรอย่างตั้งใจ เมื่อเห็นพระสงฆ์เดินใกล้เข้ามาเกือบถึงที่ที่เขาเตรียมใส่บาตร ลูกชายก็พูดดัง ๆ กับพระภิกษุว่า หลวงพ่อครับ หลวงพ่อครับ ขอใส่บาตรหน่อยครับแม่ก็พูดเบา ๆ กับลูกว่า จุ๊ จุ๊”  พูดอย่างนี้ไม่ได้ลูก ต้องพูดว่า ………………”    จากนั้นครูใช้คำถามว่า
      ๒. ๑) นักเรียนคิดว่าเด็กอายุเพียง ๗ ขวบจะพูดอย่างนี้กับพระเมื่อจะใส่บาตรได้หรือไม่ (ไม่ควรพูด แม้จะพูดอย่างไพเราะด้วยความเคารพก็ตาม)
     ๒.๒) ควรพูดอย่างไรกับพระสงฆ์ เมื่อต้องการจะใส่บาตรท่าน (ควรพูดว่า นิมนต์ครับ” (ขอรับ, ค่ะ) กับพระด้วยความนอบน้อม เคารพ)

๓. ให้นักเรียนช่วยกันคิดถึงคำต่าง ๆที่ใช้กับพระภิกษุ หรือให้แต่งประโยคที่เกี่ยวกับพระสงฆ์
ดังตัวอย่าง             - อาของผมอุปสมบทที่วัดนี้ ผมเคยไปหาท่านที่กุฏิ
                                - คุณพ่อถวายของใช้แด่พระสงฆ์ในวันทำบุญเข้าพรรษาที่วัด
      ให้นักเรียนร่วมกันพิจารณาการใช้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์ ในแต่ละประโยคว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ มีคำใดบ้างที่ใช้กับพระสงฆ์โดยเฉพาะ (คำว่า อุปสมบท  กุฏิ  ถวาย)


๔. ให้นักเรียนพิจารณาว่า อุปสมบท ใช้ต่างกับคำว่า บรรพชา อย่างไร (อุปสมบท หมายถึงการบวชเป็นพระภิกษุ  ส่วนบรรพชา หมายถึงการบวชเป็นสามเณร เมื่ออายุยังไม่ถึงเกณฑ์อุปสมบทเป็นพระภิกษุ)

๕. ให้นักเรียนทายปัญหาหรือคิดปริศนาทำทายเกี่ยวกับคำที่ใช้กับพระสงฆ์ เช่น              
                    ๑. ประ.............อะไร คือ อาการที่ผู้หนึ่งผู้ใดยกของขึ้นถวายแด่พระสงฆ์  (ประเคน)
                   ๒. ทำ................อะไรนะ คือ การที่พระท่านสวดมนต์ (ทำวัตร)
                   ๓. อา.................อะไร คือ การผิดวินัยสงฆ์ (หรือโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ (อาบัติ)                               
 ๖. ให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มย่อย  คิดท่าทาง บทสนทนา หรือการแสดงบทบาทสมมุติหน้าชั้นเรียน โดยให้มีคำที่ใช้กับพระภิกษุ ให้นักเรียนอาสาสมัคร หรือจับสลากกลุ่มให้ออกมานำเสนอผลงาน

๗. ให้นักเรียนอ่านข้อความบนกระดาน ช่วยกันคิดคำที่จะนำมาเติมในช่องว่าง เช่น

                 เด็กหญิงพิมพาติดตามนางสุพร...........(แม่) ของเขาไปซื้อของในตลาด นางสุพรซื้อ
                 ของต่าง ๆ เช่น..............(เนื้อหมู)..............(ผักบุ้ง).............(ผักกระเฉด) ฯลฯ เมื่อซื้อเสร็จ
                 บังเอิญเด็กหญิงพิมพาสะดุดหกล้ม.............(หัว)กระแทกเสา แม้ไม่แรงนักแต่ทำให้พิมพา
                 รู้สึกมึนงง และมี...............(เลือด)ไหลซิบ ๆ ที่หัวเข่า นางสุพรจึงรีบนำ.............(ลูกสาว)

     * คำสุภาพที่ช่วยกันคิดเติมในช่องว่างเรียงกัน คือ มารดา  เนื้อสุกร  ผักทอดยอด  ผักรู้นอน  ศีรษะ  โลหิต  บุตรสาว  แพทย์
        ครูให้ความรู้เพิ่มเติมในลักษณะของผักบุ้งที่มีก้านยาวทอดออกไป จึงเหมาะกับคำว่าผักทอดยอดและผักรู้นอนที่เรียกแทน ผักกระเฉดเพราะชื่อเต็มที่ฟังไม่สุภาพ (เฉด) จึงเรียกตามลักษณะที่มันหุบใบเหมือนจะนอนตอนใกล้ค่ำ

๘. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงคำราชาศัพท์แต่ละประเภทที่ใช้กับบุคคลระดับต่าง ๆ ที่มีมากมาย โดยเฉพาะคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระราชา พระบรมวงศานุวงศ์ การจะใช้ให้ถูกต้องหรือผิดพลาดน้อยที่สุด จะขึ้นกับการฝึกฝน ศึกษา และสังเกต จดจำการใช้ หมั่นใช้ให้ถูกต้องอยู่เสมอ
     
. ครูมอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มไปสืบค้นการใช้คำราชาศัพท์จากอินเทอร์เน็ต กลุ่มละ ๑ หมวด จากทั้งหมด ๖ หมวดดังนี้
          ๑. หมวดร่างกาย
         ๒. หมวดเครือญาติ
         ๓. หมวดเครื่องใช้
         ๔. หมวดกริยา
         ๕. หมวดสรรพนาม
         ๖. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์

ขั้นการประเมินผลการเรียนรู้/ขั้นสรุปการสอ
          . ให้นักเรียนทำแบบทดสอบ                                                                                                                                                        
               -ทำแบบทดสอบตอบคำถามการใช้คำราชาศัพท์

สื่อการเรียนรู้
๑. ปริศนาคำทาย
๒. ข้อความให้นักเรียนเติมคำสุภาพ
. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๑. วิธีการวัดและประเมินผล
             ๑.๑  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
             ๑.๒ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
 ๒. เครื่องมือ
             ๒.๑  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
             ๒.๒ แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
๓. เกณฑ์การประเมิน
             ๓.๑ การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
                     ผ่านตั้งแต่ ๒ รายการ       ถือว่า     ผ่าน
                     ผ่าน            ๑ รายการ        ถือว่า     ไม่ผ่าน
           ๓.๒ การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                     คะแนน ๙ - ๑๐  ระดับ     ดีมาก
                     คะแนน ๗ - ๘   ระดับ     ดี
                     คะแนน ๕ - ๖    ระดับ    พอใช้
                     คะแนน ๐ - ๔    ระดับ    ควรปรับปรุง
            ๓.๓ เกณฑ์การประเมินการทำแบบทดสอบ
                ๓.๑ แบบทดสอบการตอบคำถามเรื่อง การใช้คำราชาศัพท์
                                - ตอบคำถามถูกต้อง ข้อละ ๑ คะแนน  (คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน)
                                - ต่ำกว่า   ๑๐   คะแนน     ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
๔. เกณฑ์การผ่าน
๓.๑ นักเรียนได้คะแนนการทำแบบทดสอบทั้งสามรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ  ๕๐ ของคะแนนเต็ม













วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ                       นางสาวปรียานุช    เรืองศรี

เกิดวันที่               19  ธันวาคม 2534

ที่อยู่เดิม               206/4 หมู่ 4 ตำบลหลวงเหนือ อ. งาว จ. ลำปาง 

ที่อยู่ปัจจุบัน         หอพักตวงทรัพย์ ซอย 9

จบการศึกษาที่     โรงเรียนประชารัฐธรรมคุณ อ. งาว จ. ลำปาง

โทร.                     083-5740047   

E-mail                 nunuch_decem@hotmail.com 

                                        คติประจำใจ        อ่อนโยน แต่อย่าอ่อนแอ